ทำไมคนรุ่นใหม่ไม่รีบเก็บเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ รู้จัก Soft Saving เทรนด์ใช้เงินที่เน้นสุขตอนนี้

24 Jun 2024 - 5 mins read

Wealth / Money

Share

เห็นด้วยไหม ? ถ้าจะนำเงินที่หามาได้ไปใช้จ่ายตามใจอยาก เพื่อทำตัวเองให้มีความสุขตั้งแต่ตอนนี้

 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่พยักหน้าเห็นด้วย แสดงว่ามีแนวโน้มใช้จ่ายเงินแบบคนรุ่นใหม่ ซึ่งให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากกว่าอนาคตที่ยังมาไม่ถึง จึงเลือกใช้เงินทันที มากกว่าเก็บไว้ใช้ในวันข้างหน้าหรือตอนเกษียณ

 

นี่คือพฤติกรรมการเงินที่เรียกว่า Soft Saving เป็นหนึ่งในเทรนด์การเงินของคนรุ่นใหม่ แม้จะต่างจากแนวคิดของคนรุ่นก่อนที่ แต่กลับแฝงข้อคิดการใช้จ่ายให้ทุกคนที่ได้วางแผนการเงินเพื่อชีวิตที่ดีทั้งปัจจุบันและอนาคต ซึ่ง LIVE TO LIFE สรุปข้อควรรู้ไว้ให้ในบทความนี้แล้ว

 

 

Soft Saving คืออะไร ?

ทำไมใคร ๆ อยากใช้เงินมากกว่าออม

คนต่างวัย ต่างเจน ต่างก็มีแนวคิดและพฤติกรรมการใช้จ่ายเป็นของตัวเอง วิธีสังเกตที่ง่ายและใกล้ตัวที่สุด คือให้เปรียบเทียบนิสัยการเงินระหว่างคนรุ่นก่อน ทั้งปู่ย่าตายายและพ่อแม่ กับตัวเองซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ จะเห็นความแตกต่างกันชัดเจน

 

คนรุ่นก่อน คือคนเจน Baby Boomer และคนเจน X มักจะถือคติด้านการเงินเหมือนกันว่า ‘เก็บก่อนใช้ ลำบากวันนี้ สบายวันหน้า’ จึงทุ่มเททำงานแบบสุดตัว เพื่อให้ได้เงินมามาก ๆ แล้วใช้จ่ายอย่างประหยัด เพื่อเก็บเงินเอาไว้ใช้ยามเกษียณ ชีวิตในบั้นปลายจะได้สุขสบาย

 

ขณะที่คนรุ่นใหม่ คือคนเจน Y และคนเจน Z กลับมีความคิดต่างออกไปว่า ‘ทุกคนเลือกสบายได้เลยตั้งแต่วันนี้ โดยไม่ต้องทำให้ตัวเองลำบาก’

 

ด้วยภาพของคนรุ่นก่อนที่คนรุ่นใหม่มองเห็น คือคนที่ทำแต่งานจนไม่ได้ใช้ชีวิตให้มีความสุขอย่างที่ควรจะเป็น คนรุ่นใหม่จึงมักเลือกใช้ชีวิตในทางที่ไม่กดดันตัวเองมากจนเกินไป และพยายามปรับสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตให้พอเหมาะพอดี

 

จุดนี้เองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่หันมาใช้เงินมากกว่าออม คำว่า Soft Saving จึงกลายเป็นคำที่ใช้อธิบายพฤติกรรมการเงินของคนรุ่นใหม่ได้ตรงที่สุด คือ ลดจำนวนเงินที่ต้องเก็บออมเพื่ออนาคตลง แล้วนำเงินนั้นมาใช้จ่ายในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสบการณ์และคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

 

เน้นใช้เงินกับปัจจุบัน

โดยไม่ทิ้งการออมเพื่ออนาคต

หลายคนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่า เทรนด์ Soft Saving ของคนรุ่นใหม่ คือการเน้นใช้เงินที่หามาได้ให้หมดจนไม่เหลือเงินไว้เก็บออม แต่ในความเป็นจริงแล้ว Soft Saving ไม่ใช่พฤติกรรมการเงินที่สุดโต่งเช่นนั้น หากจะเปรียบเทียบให้เห็นความต่างแบบเข้าใจง่ายที่สุดได้ว่า Soft Saving เป็นแนวคิดและพฤติกรรมการเงินขั้วตรงข้ามกับ FIRE หรือ Financial Independence, Retire Early

 

เพราะคนที่ถือแนวคิด FIRE จะพยายามทำทุกอย่างให้ตัวเองมีเงินเก็บจำนวนมากจนมีอิสรภาพทางการเงิน และสามารถเกษียณอายุได้ก่อนกำหนด หมายความว่า ยิ่งเกษียณได้เร็วในตอนอายุน้อยเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะไม่อยากทำงานไปตลอดชีวิต

 

ขณะที่ Soft Saving กลับสนใจทำให้ชีวิตดีขึ้นทันทีในระยะเวลาสั้น ๆ มากกว่า เน้นความสะดวกสบาย ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต และเต็มใจใช้เงินซื้อความสุขตามใจอยาก จึงไม่ชอบความเคร่งเครียดจากการทำงานหนักแบบไม่มีเวลาพัก เพราะมั่นใจในศักยภาพของตัวเองว่าสามารถทำงานต่อไปได้เรื่อย ๆ ในจังหวะชีวิตที่ตัวเองยังรู้สึกดี โดยไม่มีความคิดรีบเกษียณเร็วเหมือน FIRE หรือบางคนอาจไม่มีแผนเกษียณอายุเลยด้วยซ้ำ

 

นอกเหนือจากมุมมองต่อการทำงาน อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนรุ่นใหม่หันหน้าเข้าหา Soft Saving กันมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นไปได้ว่า มีผลมาจากความไม่แน่นอนที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ ทั้งภัยธรรมชาติ โรคระบาด และวิกฤตเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ซึ่งส่งผลกระทบถึงการใช้ชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้กลายเป็นตัวเร่งให้คนรุ่นใหม่เลือกมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น

 

เพราะบรรดาคนรุ่นใหม่มองเห็นสัจธรรมในชีวิตว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอน ย่อมเป็นเรื่องยากลำบากมาก ๆ ที่พวกเขาจะสามารถเก็บเงินได้มากพอจนเกษียณได้ก่อนกำหนด จึงพลิกมุมกลับปรับมุมมองใหม่ว่า แค่ใช้ชีวิตให้มีความสุขกับวันนี้ก็น่าจะพอแล้ว แต่ก็ไม่ได้ละทิ้งความมั่นคงในอนาคตไปเลย เพียงแค่ลดสัดส่วนเงินออมลง ไม่ให้เยอะเกินจนไม่มีเงินมาใช้ซื้อความสุขในปัจจุบัน

 

 

Soft Saving อย่างไร ?

ให้ชีวิตมั่งคั่ง มั่นคง หมดกังวลเรื่องเงิน

คนรุ่นใหม่ที่เลือกใช้จ่ายตามเทรนด์ Soft Saving ต่างเข้าใจกันดีว่า ‘เงิน’ คือ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะจำเป็นต้องมีเงินเอาไว้ใช้จ่ายตลอดเวลา หมายความว่า ชีวิตที่ไม่มีเงินหรือชีวิตที่ขัดสนย่อมเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง พวกเขาจึงไม่ใช่คนที่ใช้จ่ายมากเกินตัวโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง หรือไม่คิดวางแผนออมเงินเลย

 

ในทางตรงกันข้าม กว่าที่คนรุ่นใหม่คนหนึ่งจะตัดสินใจได้ว่า เลือกใช้เงินเพื่อความสุขในปัจจุบันมากกว่าเก็บเงินเอาไว้ใช้ยามเกษียณ พวกเขาย่อมเชื่อมั่นในทักษะการเงินของตัวเองว่า ช่วยจัดการเรื่องการใช้จ่ายได้รัดกุมมากพอจนหายห่วงเรื่องเงิน แต่สำหรับคนที่ยังไม่แน่ใจว่า เงินที่เก็บออมเอาไว้มีจำนวนเพียงพอให้ใช้จ่ายตามเทรนด์ Soft Saving หรือเปล่า ? LIVE TO LIFE มีแนวทางวางแผนการเงินมาแนะนำ ดังนี้

 

1. กำหนดสัดส่วนขั้นต่ำของเงินออมก่อนใช้จ่าย

‘ออมก่อนใช้ทีหลัง’ ยังคงเป็นแนวคิดการเงินที่ใช้ได้ตลอดกาล เพื่อการออมทำให้มีเงินสำรองเผื่อไว้ใช้ได้ เป็นความอุ่นใจที่ทุกคนจำเป็นต้องเก็บหอมรอมริบ โดยสัดส่วนเงินออมขั้นต่ำจากรายรับตลอดเดือนที่แนะนำให้เก็บเอาไว้ คือ ไม่น้อยกว่า 10% สำหรับคนที่มีรายได้มากสามารถปรับสัดส่วนเพิ่มขึ้นได้ อาจศึกษาแนวทางแบ่งรายรับเพิ่มเติมด้วย เทคนิคโหล 6 ใบ หรือ Jars Money Management System

 

2. รู้กำลังทรัพย์ของตัวเอง ปิดโอกาสสร้างหนี้ได้อยู่หมัด

คนรุ่นใหม่มีโอกาสสร้างหนี้ได้ง่ายและเร็วขึ้นมาก โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต แต่บัตรเครดิตเป็นเพียงช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจ่ายเงินโดยการใช้เงินล่วงหน้าเท่านั้น เพราะจำนวนเงินที่ใช้ไปถือเป็นความรับผิดชอบของตัวเราเอง ดังนั้น หากไม่ตระหนักรู้กำลังทรัพย์ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงก่อหนี้โดยไม่รู้ตัวได้ จึงจำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตด้วยความระมัดระวัง ที่สำคัญคือใช้เท่าไหร่ จ่ายให้ครบ หากจ่ายขั้นต่ำจะทำให้เสียดอกเบี้ยเพิ่มโดยไม่จำเป็น

 

3. ทำประกันแบบออมทรัพย์เป็นตัวช่วยสร้างเงินก้อนในบั้นปลาย

อายุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ มักเป็นข้อจำกัดต่อการทำงานหาเงิน หมายความว่า เมื่อชีวิตถึงวัยเกษียณย่อมขาดรายได้จากงานประจำ ทำให้มีเงินน้อยลง หากมีเงินเก็บไม่มากพอจะกลายเป็นความเสี่ยงในการใช้ชีวิตทันที

 

คนรุ่นใหม่หลายคนจึงมองหาตัวช่วยที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าออมเงินไว้ในบัญชีธนาคาร การทำ ประกันแบบออมทรัพย์ จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะให้ความคุ้มครองพร้อมกับเป็นหลักประกันในบั้นปลายได้ด้วย

 

โดยเฉพาะแบบประกันออมทรัพย์ของ ไทยประกันชีวิต แฮปปี้มีเงินใช้ ที่ชำระเบี้ยฯ สั้นเพียง 5 ปี แต่คุ้มครองยาวถึง 15 ปี เมื่อครบสัญญา รับเงินคืน 500% และสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้ ควรศึกษารายละเอียดของกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

 

บทสรุปของ Soft Saving หรือพฤติกรรมการเงินของคนรุ่นใหม่ที่เน้นใช้จ่ายมากกว่าเก็บออม จึงขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนตัวที่อยากทำให้ตัวเองใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในทันที โดยไม่ต้องรอไปใช้ชีวิตในยามเกษียณ พร้อมวางแผนการเงินไว้อย่างเหมาะสมเพื่อความมั่นคงควบคู่กับลดความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอในปัจจุบัน เพราะสิ่งสำคัญของเขาคือความสบายใจและความสุขในปัจจุบัน

 

 

อ้างอิง

SHARE

facebook
twitter
copy
Related articles / บทความที่เกี่ยวข้อง
Loading...