

เคล็ดลับวางแผนการเงิน ช่วยดูแลให้แม่วัยเกษียณมีเงินใช้ไม่ขาดมือ
Wealth / Money
14 Aug 2023 - 5 mins read
Wealth / Money
SHARE
14 Aug 2023 - 5 mins read
นึกออกไหมว่า ภาพชีวิตของตัวเองเมื่อถึงวัยเกษียณจะเป็นอย่างไร?
ชีวิตในวัยเกษียณนั้นมีเรื่องเงินให้คิดและวางแผนอยู่ตลอด เพราะเป็นวัยที่วางมือจากการทำงาน ทำให้ไม่มีเงินเดือน เมื่อรายได้หลักหายไป จึงกระทบถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนเงินที่เก็บหอมรอมริบไว้ใช้หลังเกษียณ นอกจากนี้ ยังมีรายจ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาอีก ทั้งค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายจิปาถะเพื่อดูแลตัวเอง
โดยเฉพาะคนเป็น ‘แม่’ ที่ต่างก็อยากมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายในบั้นปลาย มีเงินเก็บเพียงพอให้นำมาจับจ่ายได้ไม่ขาดมือ โดยไม่จำเป็นต้องรบกวนหรือเป็นภาระของลูกหลาน หากปักหมุดอายุเกษียณของตัวเองไว้ที่ 60 ปี เท่ากับว่า นับจากวันนี้จนถึงปีที่เกษียณ คือ ช่วงเวลาหารายได้จากการทำงาน ควบคู่ไปกับวางแผนและจัดการการเงิน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ
LIVE TO LIFE ชวนแม่และทุกคนมาเตรียมความพร้อม ด้วยเคล็ดลับวางแผนการเงินหลังเกษียณ 5 ขั้นตอนที่เข้าใจง่ายและเริ่มต้นทำได้ทันที
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจอนาคตให้ครบถ้วน
ความไม่แน่นอนของอนาคตที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ยิ่งทำให้ต้องรีบถามตัวเองก่อนว่า ‘ตอนนี้อายุเท่าไหร่ ตั้งใจจะเกษียณอายุตอนไหน หลังจากนั้นแล้ว อยากมีเงินใช้ต่อเดือนเป็นจำนวนเท่าไหร่ และคิดว่าตัวเองจะมีชีวิตอยู่จนถึงอายุเท่าไหร่’ เพราะคำตอบที่ได้จะกลายเป็นทั้งเป้าหมายและแรงกระตุ้นให้เราวางแผนและจัดการเงินต่อไป
เช่น ตอนนี้อายุ 35 ปี ตั้งใจเกษียณตอนอายุ 60 ปี อยากมีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 20,000 บาท และคิดว่ามีอายุอยู่ถึง 85 ปี จากนั้น ให้นำตัวเลขทั้งหมดมาคำนวณเพื่อหาจำนวนเงินที่เราต้องเตรียมไว้ใช้ในวัยเกษียณ ด้วยสูตร
ตัวอย่างการคำนวณ (85-60)×(20,000×12) = 6,000,000 บาท นี่คือจำนวนเงินที่เราต้องใช้ในวัยเกษียณ แต่ยังไม่หมดเท่านี้ เพราะต้องคำนวณอัตราเงินเฟ้อประมาณ 3% ต่อปีเพิ่มเข้าไป ด้วยสูตร
ตัวอย่างการคำนวณ 6,000,000 × [(1+0.03) ยกกำลัง (85-60)] = 12,562,668 บาท นี่คือจำนวนเงินจริง ๆ ที่เราต้องใช้ในวัยเกษียณ ซึ่งอาจเพิ่มมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อต่อปี และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและรถยนต์ที่เสื่อมโทรมตามกาลเวลา นับเป็นจำนวนเงินก้อนใหญ่ที่มีมูลค่ามาก แน่นอนว่าต้องใช้เวลาและการวางแผนเก็บเงินหลายปีเพื่อให้ได้เงินครบจำนวน
ขั้นตอนที่ 2 รวบเงินออมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
เป้าหมายคือต้องหาเงินให้ได้ครบเท่ากับจำนวนเงินที่เตรียมไว้ใช้ในวัยเกษียณ โดยเริ่มจากรวบรวมเงินออมทั้งหมด ทั้งจากเงินฝาก เงินทุนประกันสังคม ประกันแบบออมทรัพย์ กองทุน และเงินลงทุนในหุ้น เพราะจะทำให้เรารู้จำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ เช่น รวบเงินออมที่มีอยู่ในปัจจุบันได้เท่ากับ 4,500,000 บาท เท่ากับต้องออมเงินเพิ่มอีก 8,062,668 บาท เพื่อให้ครบจำนวนเงินที่ต้องใช้ในวัยเกษียณ คือ 12,562,668 บาท
ขั้นตอนที่ 3 วางแผนการเงิน เพิ่มเงินออม
หลังจากรู้จำนวนเงินที่ขาด ก็ต้องรีบวางแผนการเงินต่อ โดยเริ่มจากพื้นฐานการทำบัญชี เขียนรายรับรายจ่าย โดยเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และแบ่งเงินจากรายได้ทุกเดือนมาเป็นเงินออมและเงินลงทุน ตามสัดส่วนที่รับได้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 10%
ในขั้นตอนนี้แนะนำให้ใช้โปรแกรม Investnow Starter เป็นโปรแกรมการคำนวณของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับจำลองแผนการลงทุนและใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการลงทุน ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ว่าต้องจัดสรรเงินเพื่อออมและลงทุนอย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าไหร่ และคาดหวังว่าได้รับผลตอบแทนกลับมาเป็นสัดส่วนเท่าใด หรือที่เรียกว่า ‘พอร์ตการลงทุน’ ให้เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อมีเงินเพียงพอใช้จ่ายในวัยเกษียณ
ส่วนรูปแบบการลงทุน ให้เลือกกระจายความเสี่ยง โดยมีครบถ้วนทั้งการลงทุนระดับความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝาก พันธบัตร ตราสารหนี้ภาครัฐ กองทุนรวม การลงทุนระดับความเสี่ยงปานกลาง เช่น ตราสารหนี้ภาคเอกชน กองทุนรวมผสม และการลงทุนระดับความเสี่ยงสูง เช่น หุ้นสามัญ กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมน้ำมัน ก่อนเลือกลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจ แล้วค่อยจัดพอร์ตการลงทุน บางคนอาจเน้นลงทุนระดับความเสี่ยงสูง เพื่อให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นตาม
นอกจากนี้อาจหาช่องทางสร้างรายได้เสริมด้วย โดยใช้ความถนัดหรืออาศัยความสามารถของตัวเองต่อยอดเป็นรายได้ สำหรับคนที่ต้องการเปิดกิจการหรือลงทุนที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ให้พิจารณาทุกอย่างให้รอบด้าน ไม่อย่างนั้นอาจขาดทุนและสูญเสียเงินทุนไปโดยเปล่าประโยชน์ได้
ขั้นตอนที่ 4 ติดตามผลเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
เมื่อเริ่มวางแผนและจัดสรรเงินออม เงินลงทุนเรียบร้อยแล้ว เรามีหน้าที่ติดตามผลและตรวจดูว่าการลงทุนทุก ๆ 3 เดือน ว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็สามารถปรับพอร์ตการลงทุน และเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนใหม่ได้ โดยพิจารณาจากระดับความเสี่ยงกับผลตอบแทนที่ได้รับกลับมา
ขั้นตอนที่ 5 มองหาตัวช่วยที่ไม่ควรมองข้าม
อย่างที่ได้อธิบายไว้ตั้งแต่ต้นว่า ชีวิตในวัยเกษียณมีเรื่องเงินให้คิดและวางแผนอยู่ตลอด เพื่อให้มีเงินใช้ไม่ขาดมือ นอกจากการออกเงินโดยตรงแล้ว เราควรมองหาตัวช่วยเพื่อความอุ่นใจที่เป็นเหมือนกันชนหรือฟูกที่รองรับหากเราประสบกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด นั่นคือ การเลือกแบบ ‘ประกันชีวิต’ ที่เหมาะสมกับตัวเราหรือคนที่เรารัก
ประกันชีวิต คือเครื่องมือบริหารความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่คุ้มค่า เพราะสามารถให้การคุ้มครองยามเจ็บไข้ได้ป่วยให้กับตัวเราเอง และเป็นทุนสำรองให้คนที่อยู่ข้างหลังได้ ประโยชน์ของการซื้อประกันชีวิตจึงเป็นการสร้างหลักประกันให้ตัวเองในอนาคตและเป็นการทำเพื่อคนที่เรารัก รวมถึงช่วยจัดการภาษีได้ด้วยอีกทางหนึ่ง
สำหรับใครที่กำลังมองหาแบบประกันสำหรับคุณแม่วัย 50-70 ปี ขอแนะนำ “ไทยประกันชีวิต สูงวัยมีทรัพย์”
- เบี้ยฯ เพียงวันละ 9 บาท* ให้มีเงินใช้ชีวิตได้สบายหลังเกษียณ
- คุ้มครองชีวิตไม่ว่าจะเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ สูงสุดถึง 600,000 บาท*
- อายุ 75 ปี รับเงินคืนก้อนแรก สูงสุด 200,000 บาท* และเมื่อครบสัญญา รับเงินคืน สูงสุด 600,000 บาท*
- สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติม แผนประกันสูงวัยมีทรัพย์
* เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
อ้างอิง
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วางแผนเกษียณ. https://bit.ly/47a2UZY